วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กติกาสมาชิกไลน์ Openchat “โคกหนองนาสามัคคี”

๑. ห้องหลัก โคกหนองนาสามัคคี(กดที่ชื่อเพื่อเข้าร่วม)
- ใช้ในการสื่อสารส่งข่าวสำคัญจากทีมงานส่วนกลาง 
- โปรดงดส่งภาพและสติกเกอร์ เพื่อให้ข่าวสำคัญยังคงอยู่ ให้สมาชิกใหม่เห็นได้
**การเข้าร่วมครั้งแรก ขอให้แจ้งชื่อนามสกุลและจังหวัดที่ท่านต้องการจะเข้าไปอยู่

๒. ห้องแชทรวม ถาม-ตอบกสิกรรมธรรมชาติ (กดที่ชื่อเพื่อเข้าร่วม)
ห้องนี้เปิดให้คุยเต็มที่ แต่ขอให้คุยกันด้วยน้ำใจไมตรี การให้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

๓.  ห้องแชทย่อย โคกหนองนา ระดับจังหวัด ๗๖ จังหวัด+กรุงเทพฯ
สามารถเข้าร่วมพูดคุยหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำโคกหนองนา
และการเอามื้อสามัคคี ได้ตามรายจังหวัดที่ท่านต้องการ
กดที่ชื่อจังหวัดเพื่อเข้าร่วมได้เลยค่ะ
(๑/๑) ภาคเหนือ ๙ จังหวัด 
๑.เชียงราย ๒.เชียงใหม่ ๓.น่าน ๔.พะเยา ๕.แพร่ ๖.แม่ฮ่องสอน  ๗.ลำปาง ๘.ลำพูน  ๙.อุตรดิตถ์
(๒/๖) ภาคกลาง มี ๒๑ จังหวัด (+กรุงเทพ)
๑.กรุงเทพมหานคร ๒.กำแพงเพชร ๓.ชัยนาท ๔.นครนายก ๕. นครสวรรค์  ๖.นนทบุรี
๗.ปทุมธานี ๘.พระนครศรีอยุธยา  ๙.พิจิตร  ๑๐.พิษณุโลก  ๑๑.เพชรบูรณ์  ๑๒.ลพบุรี  ๑๓.สมุทรปราการ
๑๔.สมุทรสงคราม  ๑๕.สมุทรสาคร ๑๖.สิงห์บุรี  ๑๗.สุโขทัย  ๑๘.สุพรรณบุรี ๑๙.สระบุรี  ๒๐.อ่างทอง
(๓/๖) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ จังหวัด
๑.กาฬสินธุ์ ๒.ขอนแก่น ๓.ชัยภูมิ  ๔.นครพนม  ๕.นครราชสีมา  ๖.บึงกาฬ  ๗.บุรีรัมย์  ๘.มหาสารคาม
๙. มุกดาหาร  ๑๐.ยโสธร  ๑๑.ร้อยเอ็ด  ๑๒.เลย  ๑๓.สกลนคร  ๑๔.สุรินทร์  ๑๕.ศรีสะเกษ  ๑๖.หนองคาย
๑๗.หนองบัวลำภู  ๑๘.อุดรธานี  ๑๙.อุบลราชธานี  ๒๐.อำนาจเจริญ
(๔/๖) ภาคตะวันออก ๗ จังหวัด
(๕/๖) ภาคตะวันตก ๖ จังหวัด
๑.กาญจนบุรี ๒.ตาก ๓.ประจวบคีรีขันธ์  ๔.เพชรบุรี  ๕.ราชบุรี ๖.นครปฐม 
(๖/๖) ภาคใต้ ๑๔ จังหวัด

๔. ห้องแชทย่อย  แบ่งปันแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ (กดที่ชื่อเพื่อเข้าร่วม)

คำอธิบายห้อง "รวมสื่อความรู้ฯ" 💡สื่อความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและกสิกรรมธรรมชาติทั้งหมด จะรวบรวมอยู่ในแชทย่อยห้องนี้ เสมือนเป็นห้องสมุด ให้สมาชิกทุกท่านเข้ามาศึกษาหาความรู้ผ่านช่องทางออนไลน์  📲 ❎ ของดการพูดคุยหรือโพสต์คลิปใดๆเองในห้องนี้ เพื่อให้ทุกท่านค้นหาความรู้ได้อย่างราบรื่นค่ะ ☑️ สื่อต่างๆจะโพสต์โดยแอดมินและทีมงาน อาสาประสานงานและครูกสิกรรมประจำจังหวัดเท่านั้นค่ะ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง ขอสงวนสิทธิ์หากมีการโพสต์คลิปจากบุคคลอื่น และขอลบคลิป/สื่อที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่เป็นไปตามกติกาและความเหมาะสม หากมีความประสงค์จะโพสต์คลิปขอให้ส่งผ่านอาสาและครูกสิกรรมประจำห้องจังหวัดเพื่อคณะทำงานโคกหนองนาสามัคคีจะได้พิจารณาในการเผยแพร่ในโอกาสต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

How to วิธีเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ใน Line Openchat



รวมคลิปความรู้ต่างๆเกี่ยวกับกสิกรรมธรรมชาติ


ในช่วงนี้ที่ยังเปิดอบรมไม่ได้ เรามาเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์กันนะคะ ^^
.
รวมคลิปความรู้ต่างๆเกี่ยวกับกสิกรรมธรรมชาติ   ครบจบในที่เดียวเลยค่ะ
.
......................................................

>>> ศาสตร์พระราชา สู่ โคกหนองนาโมเดล
.
สื่อที่ทำให้เข้าใจศาสตร์พระราชา
ก่อนจะลงมือทำโคกหนองนาโมเดล อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตามลำดับ
ตอนที่ 1 https://youtu.be/-PCZwjK1Tio  
ตอนที่ 2 https://youtu.be/j-qLuObZn5k
ตอนที่ 3 https://youtu.be/TliHm5QSRWc
ตอนที่4 https://youtu.be/pOTC-rmANY4
ตอนที่ 5 https://youtu.be/B01iArpf708
ตอนที่ 6 https://youtu.be/Ye0NzFeA6qc
ตอนที่ 7 https://youtu.be/yqecE3PpYGA
ตอนที่ 8 https://youtu.be/zFgfXWX-uGA
.
ขอให้ศึกษาอย่างเข้าใจ แล้วไปเรียนรู้ลงมือทำกับตัวอย่าง ต้นแบบของจริง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ลงมือทำกับโคกหนองนาของบุคคลต่างๆจนเกิดความเข้าใจ เกิดทักษะในการลงมือทำ ไปเรียนกับแปลงถือแรงสามัคคี เอามื้อสามัคคี ลงแขกช่วยเหลือเครือข่ายหมู่กลุ่ม แล้วเครือข่ายเพื่อนๆจะกลับมาช่วยเรา ตามวิถีไทยในอดีตที่อบอุ่นแบ่งปันเสียสละ ค่อยเป็นค่อยไป ทำเป็นขั้นเป็นตอน "เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง" เกิดพลังของหมู่กลุ่ม แล้วจะ ทำให้เกิด"สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย"ตามคำพ่อหลวงสอนไว้
.
......................................................

>>> คลิปรายการ คุยกับยักษ์
.
รายการจะมี FACEBOOK LIVE ทุกวันอังคาร เวลา1ทุ่มที่เพจมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
.
ตอนนี้มีเรียนกันแล้ว 4 ตอน ดูย้อนหลังได้ตามลิงค์นี้เลยค่ะ
.
คุยกับยักษ์EP.1 เปิดสมองบ่งหนองความคิด
.
คุยกับยักษ์ EP.2 ช้างทั้งตัว
.
คุยกับยักษ์EP.03 "โคกหนองนาพาชาติรอด"(แก้วิกฤติโควิค 19)
.
คุยกับยักษ์ Ep.04 "โคกหนองนาพาชาติรอด"(แก้วิกฤติโควิด19(2))
.
คุยกับยักษ์ Ep.5 "โคกหนองนาพาชาติรอด" (แก้วิกฤติโควิด19 (3) )
.
.
..............................................................

>>> การออกแบบพื้นที่.
.
การบรรยายการออกแบบพื้นที่_อาจารย์ยักษ์ 1
.
การบรรยายการออกแบบพื้นที่_อาจารย์ยักษ์ 2
.
.
..............................................................

โคกหนองนาฝ่าวิกฤตโควิด-19 โดย อ.ยักษ์

..............................................................

ห้องเรียนออนไลน์กับอ.ปัญญา ปุลิเวคินทร์ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ นครนายก
.
แชมพูมะกรูด100%
.
Workshopลงมือทำสบู่เหลวสมุนไพรแบบง่ายๆ
.
เรียนรู้เรื่องการผสมดินปลูกต้นไม้


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อัพเดต!!! ข่าวด่วน การขอรับงบโคกหนองนาโมเดล พช. หมดเขต 31 สิงหาคม 2563 กษ. หมดเขต 9 กันยายน 2563 (ตรวจสอบดูตำบลว่าอยู่กับ หน่วยงานใด)

สรุปข่าวการสมัครขอรับงบโคกหนองนาโมเดล (งบเงินกู้โควิด 19) 


กรุณาอ่านทำความเข้าใจก่อน
ข้อมูลต่อไปนี้ เราได้รวบรวมมานำเสนอ แต่รายละเอียดปลีกย่อย จะต้องติดต่อสอบถามกับหน่วยงานราชการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ถ้าท่านติดต่อแล้ว ไม่ได้ผลที่ท่านพึงพอใจ ขอให้ท่านอย่าใจร้อน การจะได้รับงบหรือไม่ได้รับงบ ท่านต้องมองภาพรวมของการทำงานทั้งระบบ การรับสมัครของแต่ละหน่วยงาน มีเงื่อนไขและกลไกต่างกัน 

ท่านที่สอบถามว่า แล้วที่ให้ข้อมูลเครือข่ายโคกหนองนาสามัคคีมา ไม่ใช่เป็นการสมัครหรือ ขอตอบว่า เป็นการสมัครสมาชิกเครือข่าย และเราได้นำข้อมูลความต้องการของสมาชิกและรายชื่อทุกท่าน ส่งให้อาจารย์ธีระไปนำเสนอต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบจัดทำโครงการ จนทุกภาคส่วนเห็นชอบว่า โครงการนี้มีความต้องการของประชาชนจริง สามารถผลักดันให้งบประมาณผ่านสภาฯต่างๆ จนถึงการนำสู่การจัดสรรเพื่อปฏิบัติงาน  ในขั้นนี้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ต้องกำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไข และวิธีการทำงานต่างๆ ที่ต้องใช้เอกสารตัวจริง และมีระบบระเบียบของแต่ละหน่วยงานกำหนดไม่เหมือนกัน 

งบเงินกู้โควิด-19 ที่เกี่ยวข้องกับโคกหนองนา จัดสรรผ่าน 2 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย (กรมการพัฒนาชุมชน) จำนวน 3,246 ตำบล กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4,009 ตำบล รวม 7,255 ตำบล โดยใช้การแบ่งพื้นที่ตำบลที่ตั้งโคกหนองนาเป็นตัวแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ  จึงขอแนะนำให้ท่าน 

1. ตรวจสอบว่า ที่ตั้งโคกหนองนาของท่าน อยู่ในตำบลใด จากไฟล์นี้ หากชื่อตำบลปรากฏในช่องสุดท้ายสีเหลือง หมายถึง พื้นที่ที่กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) เป็นผู้ดูแล ถ้าไม่มีชื่อในช่องสีเหลือง แสดงว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เป็นผู้ดูแล 

ตรวจสอบพื้นที่ ==> กดลิงค์นี้ 

หากท่านไม่มั่นใจ จะลองสมัครทั้งสองหน่วยงานดูก็ได้ 

2. กรณีพื้นที่ของท่านอยู่ในการดูแลของ พช. 

ชื่อโครงการ  พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”

- สามารถติดต่อสมัครที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอที่ตั้งของโคกหนองนา ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 และควรเตรียมเอกสารไปให้พร้อมด้วย 

ถ้าท่านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเอง ท่านจะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้ 
1) หนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน (ตามแบบฟอร์มนี้)
2) สำเนาเอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้แก่ สำเนาโฉนดที่ดิน นส.3 ก. หนังสือรับรองสิทธิในรูปแบบต่างๆ  โดยระบุพิกัด GPS ให้เรียบร้อย 
3) สำเนาบัตรประชาชนเกษตรกรและเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน 
4) สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัคร และเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน 

** หากท่านไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จะต้องมีการลงนามยินยอมโดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ และมีเอกสารบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดินพร้อมรับรองสำเนาทุกฉบับ  

 (อ่านรายละเอียดข่าว พช. กดที่ลิงค์นี้

3. กรณีพื้นที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ชื่อโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่   
Update ข้อมูลโครงการโดยละเอียด กดที่นี่  (ไฟล์นี้จะมีใบสมัครให้ด้วยค่ะ) 
กรุณาอ่านให้ละเอียดก่อน  

วิธีการรับสมัครเกษตรกรที่ต้องการทำโคกหนองนา 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 
1. สมัครด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://ntag.moac.go.th/ 
2. ยื่นใบสมัครกับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอ 
รับสมัครวันที่ 27  สิงหาคม – 9 กันยายน 2563 

คุณสมบัติ
1. เกษตรกรขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. อายุ 18-60 ปี สัญชาติไทย
3. มีพื้นที่เป็นผืนเดียวกัน ไม่น้อยกว่า 3 ไร่ 
มีเอกสารสิทธิเป็นของผู้สมัคร หรือทายาท 
(บิดา มารดา บุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย)
4. เจ้าของสิทธิ(ข้อ 3) ต้องยินยอมให้ใช้ประโยชน์ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปี โดยมีการลงลายมือชื่อ
ในหนังสือยินยอม
5. ผู้สมัครและพื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ต้องไม่อยู่ในโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่(5 ประสาน) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์



กรณีต้องการได้รับการจ้างงาน
นอกจากงบทำโคกหนองนา ยังมีการจ้างงาน ตำบลละ 8 ราย  โดยให้เงินเดือน เดือนละ 9,000 บาท เป็นเวลา 1 ปี 

วิธีการรับสมัครคนที่ต้องการเป็นลูกจ้างในโครงการ  
สมัครผ่านระบบออนไลน์   https://ntag.moac.go.th/ 
รับสมัครวันที่ 27  สิงหาคม – 9 กันยายน 2563

คุณสมบัติแรงงาน
1.  เป็นเกษตรกร ทายาทเกษตรกร หรือแรงงานคืนถิ่น หรืออาสาสมัครเกษตรกรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. อายุ 18-60 ปี สัญชาติไทย
3. วุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่า ม.3 หรือเทียบเท่า
4. มีที่พักอาศัยอยู่ในตำบลที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ
5. ต้องมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน
6. ไม่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการบำนาญ รวมทั้งข้าราชการการเมือง ลูกจ้างของกระทรวง 
กรม พนักงานส่วนท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น และไม่เป็นลูกจ้างเอกชน
7. ไม่เป็นผู้ดำรงค์ตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
8. ต้องไม่เป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ
9. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
 


กรณีอ่านแล้ว ไม่เข้าใจตรงจุดใด รบกวนท่านติดต่อสอบถามที่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ทำโคกหนองนาของท่าน  ถ้าถามสอบถามเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ได้คำตอบที่น่าพอใจ อย่าเพิ่งหัวเสีย ใจเย็นๆ อย่าไปต่อว่าใคร  ขอให้นึกถึงคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เราต้องการมาสานต่องานของพ่อ เรามาทำสิ่งดี อย่าทำสิ่งที่ไม่ดีในนามของการทำดีนะคะ หลายพื้นที่มีเกษตรกรตัวยืนอยู่แล้ว เขาบอกว่า เต็มแล้ว ท่านไม่ต้องเสียใจ ขอส่งใบสมัครเป็นตัวสำรองไว้ก่อน (ถ้าท่านมีคุณสมบัติครบถ้วน) เพราะบางพื้นที่อาจจะไม่มีใครสนใจสมัครก็เป็นได้ค่ะ แต่ถึงจะได้หรือไม่ได้งบ ขอให้มุ่งมั่นลงมือทำแบบคนจนตามศาสตร์ของพระราชาอย่างแท้จริงนะคะ 

หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และขอให้ท่านช่วยแจ้งอาจารย์ Line @muiphuket เพื่อแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบันด้วย จักขอบคุณยิ่งค่ะ 

อ.มุ่ย ณ วันที่ 18/8/63 เวลา 22:32 น.
แก้ไขเพิ่มเติม 26/08/63 เวลา 17:05 น. 

หมายเหตุ ฝากข้อคิดไว้ให้สมาชิกเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ โคกหนองนาสามัคคีทุกท่าน 
"โลโภ ธัมมานัง ปริปันโถ" 
"ความโลภเป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งหลาย เป็นอันตรายแก่ความเจริญทั้งหลาย"

"สันตุฏฐี ปะระมัง ธะนัง" ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่ เป็นทรัพย์อันสูงสุด

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ตารางคำนวณน้ำอย่างง่าย

ขอเรียนว่า ตารางนี้ช่วยคำนวณแบบง่ายๆ สำหรับผู้มีปัญหาในการแปลงหน่วยต่างๆ ไม่สามารถคิดซับซ้อนได้ตามสภาพจริงนะคะ ใช้เป็นแนวทางในการคิดคำนวณ ผู้ใช้งานควรศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อการเรียนรู้เรื่องโคกหนองนาของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เพื่อความเข้าใจและออกแบบได้ตรงตามความต้องการ 

ในตารางนี้ ยังไม่ได้คิดการรั่วซึมของดินแต่ละที่ซึ่งจะเก็บน้ำได้ไม่เท่ากัน  นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกจะต้องห่มดิน ไม่เปลือยดิน ลดการระเหยของน้ำให้มากที่สุด และพื้นที่หนองน้ำ น้ำจะระเหยวันละ 1 เซนติเมตร ซึ่งเคยเห็นข้อมูลกรมอุตุฯ มีการเก็บข้อมูลการระเหยของน้ำต่อปี ขอเวลาหาก่อนค่ะ ในตารางนี้ จะให้น้ำในหนองระเหย 300 เซนติเมตรต่อปี 

การขุดหนอง จะทำในรูปแบบ Free-form ไม่ใช่แบบสี่เหลี่ยมตรงๆ แต่เพื่อง่ายต่อการคำนวณจึงใช้วิธีคำนวณแบบกว้างxยาวxลึก แต่ใช้วิธีประมาณการร้อยละปริมาตรอยู่ที่ ร้อยละ 70 ตามลักษณะคดเคี้ยว รวมทั้งการขุดต้องมีตะพักที่ทุกๆ ระยะความลึก 1.5 - 2 เมตร